วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ดอกนางแย้ม

นางแย้ม

นางแย้ม



นางแย้ม ชื่อวิทยาศาสตร์ Clerodendrum chinense (Osbeck) Mabb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Clerodendrum fragrans (Vent.) R.Br., Clerodendrum fragrans Willd., Clerodendrum philippinum Schauer) จัดอยู่ในวงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)
สมุนไพรนางแย้ม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ปิ้งสมุทร (เชียงใหม่), ป้องช้อน ปิ้งชะมด (ภาคเหนือ), ส้วนใหญ่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ปิ้งหอม กะอุมเปอ เป็นต้น

ลักษณะของนางแย้ม

  • ต้นนางแย้ม เป็นไม้พุ่มลำต้นเตี้ย ลำต้นค่อนข้างตรง มีขนปกคุลมเล็กน้อย เนื้อไม้อ่อน มีความสูงประมาณ 1.-1.5 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการขุดต้นอ่อนที่เกิดจากรากที่อยู่ใกล้ผิวดิน (เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด) หรือใช้วิธีการตอนกิ่งและการปักชำกิ่ง สามารถพบได้มากตามป่าดิบและป่าเบญจพรรณ หรือที่ร่มรำไรที่มีความชื้นสูงและมีดินร่วนซุย นักวิชาการเชื่อว่าต้นนางแย้มนั้นมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย ที่เกาะชวาและเกาะสุมาตรา ส่วนนางแย้มที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยนั้นคือต้น “นางแย้มป่า” (Clerodendrum infortunatum L.)
ต้นนางแย้ม
  • ใบนางแย้ม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบคล้ายใบโพธิ์ หรือรูปไข่กว้างคล้ายรูปหัวใจ ใบกว้างประมาณ 8-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-17 เซนติเมตร ผิวใบมีขนละเอียดปกคุลมอยู่ทั้งสองด้าน ผิวใบสากระคายมือ ตรงปลายแหลมแต่ไม่มีติ่ง ขอบใบหยักรอบใบเป็นฟันเลื่อยห่าง ๆ เมื่อเด็ดใบแล้วนำมาขยี้จะมีกลิ่นเฉพาะ
ใบนางแย้ม
  • ดอกนางแย้ม ออกดอกเป็นช่อตามยอดและปลายกิ่ง ดอกจะเบียดเสียดติดกันแน่นในช่อ หนึ่งช่อดอกจะกว้างประมาณ 10-12 เซนติเมตร ดอกย่อยมีลักษณะคล้ายดอกมะลิซ้อน คือมีดอกเป็นพวงเล็ก ๆ หลาย ๆ ดอกเรียงรายซ้อนกันอยู่ แต่ละดอกเมื่อบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร กลีบดอกมีสีขาว เมื่อบานแล้วจะค่อย ๆ เปลี่ยนสีเป็นสีชมพู สีม่วงแดงสลับขาว ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงสีม่วงแดงเป็นหลอดสั้น ๆ ปลายแยกเป็น 5-6 แฉก กลีบเลี้ยงมีสีม่วงแดง ดอกย่อยจะบานไม่พร้อมกัน ดอกด้านบนจะบานก่อนดอกด้านล่าง แต่ถ้าบานจะบานอยู่นานหลายวัน ดอกมีเกสรตัวผู้ 4 ด้าน ส่วนเกสรตัวเมียมี 1 ก้าน เมื่อผลแก่จะแตกออกเป็น 4 ก้าน ดอกนางแย้มมีกลิ่นหอมมากทั้งในเวลาวันและกลางคืน และสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
ดอกนางแย้ม

สรรพคุณของนางแย้ม

  1. รากช่วยบำรุงประสาท (ราก)
  2. นางแย้ม สรรพคุณช่วยแก้ไข้ (ราก)
  3. ช่วยลดความดันโลหิตสูง ด้วยการใช้รากและใบแห้งประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ราก,ใบ)
  4. ช่วยแก้หลอดลมอักเสบ ด้วยการใช้รากและใบแห้งประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ราก,ใบ)
  5. ช่วยรักษาลำไส้อักเสบ (ราก)
  6. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ดากโผล่ ด้วยการใช้รากแห้งจำนวนพอสมควร ต้มกับน้ำแล้วนั่งแช่ในน้ำที่ต้มชั่วครู่ (ราก)
    ลักษณะนางแย้ม
  7. ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขุ่นเหลืองแดง โดยใช้รากต้มกับน้ำรับประทาน (ราก,ทั้งต้น)
  8. ช่วยขับระดูขาวของสตรี ด้วยการใช้รากและใบแห้งประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ราก,ใบ)
  9. ช่วยแก้ไตพิการ โดยใช้รากต้มกับน้ำรับประทาน (ราก,ทั้งต้น)
  10. ช่วยแก้ฝีภายใน โดยใช้รากต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)
  11. ต้นนางแย้ม สรรพคุณช่วยแก้พิษฝี (ทั้งต้น)
  12. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคัน ด้วยการใช้ใบสดจำนวนพอสมควร ต้มกับน้ำใช้ชะล้างบริเวณที่เป็น (ใบ)
  13. รากใช้ฝนกับน้ำปูนใสใช้ทารักษาเริม และงูสวัด (ราก)
  14. ช่วยแก้อาการเหน็บชา ปวดขา ด้วยการใช้รากประมาณ 15-30 กรัม ใช้ตุ๋นกับไก่ รับประทานติดต่อกัน 2-3 วัน (ราก)
  15. ช่วยแก้เหน็บชาที่มีอาการช้ำบวม ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ราก)
  16. ช่วยแก้อาการปวดข้อ และปวดเอว ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ราก,ทั้งต้น)
  17. ใบใช้ประคบช่วยรักษาไขข้ออักเสบได้ (ใบ)
  18. ช่วยแก้อาการกระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง (ราก,ทั้งต้น)
ข้อควรรู้ ! : สำหรับบางราย ใบของนางแย้มอาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้

ประโยชน์ของนางแย้ม

  1. ประโยชน์นางแย้ม นิยมปลูกไว้เป็นไม้ประดับ เพื่อความสวยงาม อีกทั้งดอกยังมีกลิ่นหอมทั้งกลางวันและกลางคืน และสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
  2. ชาวไทยสมัยก่อนนิยมนำดอกนางแย้มไปใช้เป็นเครื่องบูชาพระ

ดอกนมตำเลีย

นมตำเลีย

นมตำเลีย ชื่อวิทยาศาสตร์ Hoya latifolia G.Don ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าเป็นชนิด Hoya ovalifolia Wight & Arn. โดยจัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)
สมุนไพรนมตำเลีย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เนื้อมะตอม (ภาคเหนือ), นมตำเรีย นมมาเลีย (ภาคกลาง) สังวาลพระอินทร์, ต้างเป็นต้น

ลักษณะของนมตำเลีย

  • ต้นนมตำเลีย เป็นหนึ่งในพืชสกุลโฮย่า (Hoya) โดยจัดเป็นพรรณไม้เลื้อยอิงอาศัยขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่ลำต้นต้องอาศัยเกาะกับต้นไม้ใหญ่อื่น ๆ มีรากตามข้อลำต้น ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอน หรือปักชำ ชอบที่ร่ม มีความชื้นและแสงแดดพอประมาณ มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย ศรีลังกา พม่า ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาคของประเทศ โดยมักขึ้นตามต้นไม้ใหญ่ในป่าเบญจพรรณทั่วไป และแถว ๆ ริมแม่น้ำ
ต้นนมตำเลีย
  • ใบนมตำเลีย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ถึงรูปรี แผ่นใบหนา อวบน้ำ และเป็นมัน ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือบางทีเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-12 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้มหรือสีเขียวอมแดง ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ก้านใบใหญ่ยาวประมาณ 0.6-1.2 เซนติเมตร
ใบนมตำเลีย
  • ดอกนมตำเลีย ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ช่อดอกค่อนข้างกลมคล้ายซี่ร่ม ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1-2 นิ้ว ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ประมาณ 0.6-0.8 เซนติเมตร กลีบดอกมี 5 กลีบ อวบมันคล้ายทำด้วยเทียนหรือขี้ผึ้ง แต่ละพันธุ์จะมีลักษณะของดอกและสีของกลีบดอกแตกต่างกันออกไป เช่น พันธุ์กลีบดอกเป็นสีชมพู สีแดง สีขาว สีเหลือง เป็นต้น
รูปนมตำเลีย
ดอกนมตำเลีย
รูปดอกนมตำเลีย
  • ผลนมตำเลีย ออกผลเป็นฝักยาว และมีขนขึ้นปกคลุมทั่วฝัก ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 14-15 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดขนาดเล็ก แบน รูปไข่ มีขนเป็นพู่ที่ปลาย
ฝักนมตำเลีย

สรรพคุณของนมตำเลีย

  • ยางจากต้นใช้ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ

ประโยชน์ของนมตำเลีย

  • นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป รูปทรงของต้น ใบ และดอก ดูกะทัดรัดและงดงาม นมตำเลียเป็นพรรณไม้ขนาดเล็กเหมาะสำหรับปลูกใส่ในกระถางแขวนแล้วปล่อยให้เลื้อยห้อยระย้าลงมาดูสวยงาม หรือจะปลูกให้เลื้อยเกาะขึ้นกับต้นไม้อื่นหรือขอบไม้ก็ได้ ส่วนการเพาะปลูกก็ทำได้ไม่ยากนัก แต่ควรปลูกในที่ร่มรำไร ต้องการน้ำและความชื้นสูง การให้น้ำควรให้โดยการใช้สเปรย์ฉีดพ่นเป็นฝอย ๆ ส่วนดินที่ใช้ปลูกควรเป็นดินร่วนหรือดินร่วนที่มีส่วนผสมของขี้เถ้าแกลบ เพื่อให้มีการระบายน้ำได้ดี

ดอกทรงบาดาล

ทรงบาดาล


ชื่อสามัญ Kalamona
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia surattensis Burm..
ตระกูล LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น ขี้เหล็กหวาน , ตรึงบาดาล


ลักษณะทั่วไป

ทรงบาดาลเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-10 เมตร ทรงพุ่มมีการแตกกิ่งก้านสาขามากและแน่นทึบ ใบเป็นใบรวมออกเป็นแผงบนก้านใบ แผงใบยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร ใบเรียบอยู่บนแผงเป็นคู่มีประมาณ 8-12 ใบ ออกดอกเป็นช่อตามส่วนยอดของลำต้น มีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกมีสีเหลือง ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ผลเป็นฝักแบน ๆ ออกเป็นช่อ ฝักเป็นคลื่น

การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นทรงบาดาลไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความยิ่งใหญ่ กว้างขวาง เพราะทรงบาดาลคือผู้เป็นใหญ่แห่งนาคพิภพในชั้นบาดาล และยังมีบางคนกล่าวว่าทรงบาดาลหรือ ทรงบันดาล คือการเกิดขึ้นแห่งพลังอำนาจอันยิ่งใหญ่ และยังมีความเชื่ออีกว่าจะทำให้มีทองมาก เพราะดอกทรงบาดาลสามารถออกดอกตลอดปี ลักษณะดอกขณะบานมีสีเหลือง เรืองรองดั่งทองอำไพ

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นทรงบาดาลไว้ทางทิศตะวันตก ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์




การดูแลรักษา

แสง ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำน้อยถึงปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7วัน/ครั้ง
ดิน ชอบดินร่วนซุย
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 2-4 ครั้ง
การขยายพันธ์ การตอนกิ่ง การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด

อื่นๆ
มงคล
ทรงบาดาลหรือต้นขี้เหล็กหวานนั้น เป็นต้นไม้ที่เรามักจะพบเห็นกันโดยทั่วไป ตามอาคารบ้านเรือน สวนสาธารณะต่างๆ
ต้นทรงบาดาลนั้นจะผลิดอกสีเหลืองบานสะพรั่งตลอดปี จนทั่วทั้งต้นกลายเป็นสีเหลืองเรืองรอง ราวกับทองคำเปล่งประกายเลยทีเดียว
ทรงบาดาลคือผู้เป็นใหญ่แห่งนาคพิภพ ในชั้นบาดาล หรือผู้เป็นใหญ่ในโลกบาดาลนั่นเอง บางคนกล่าวว่า ทรงบาดาลหรือทรงบันดาลนั้น คือ พลังอำนาจอันยิ่งใหญ่ และมั่นคงที่เป็นใหญ่ได้บันดาลให้เกิดขึ้น
ดังนั้น คนโบราณจึงเชื่อกันว่า หากบ้านใดปลูกต้นไม้ชนิดนี้ไว้ภายในบริเวณบ้าน ก็จะช่วยส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงในชื่อเสียง และฐานะมีอำนาจยิ่งใหญ่ เกรียงไกรและกว้างขวาง เป็นที่รู้จัก และได้รับการยกย่องจากผู้คนทั่วไป
นอกจากนั้น ยังเชื่ออีกว่า ต้นทรงบาดาลจะช่วยให้ครอบครัวนั้นร่ำรวยเงินทอง เพราะประกายทองสุกใสของดอก จะช่วยเพิ่มโชคลาภทรัพย์สินให้เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น


เคล็ดปฏิบัติ
ลงมือปลูกต้นไม้ชนิดนี้ในวันเสาร์ ตามความเชื่อของคนโบราณที่เชื่อว่า ต้นไม้ที่ช่วยเสริมสร้างสิ่งดีๆ ทีเป็นมงคลให้แก่บ้านควรปลูกในวันเสาร์ จึงจะช่วยเสริมพลังให้แก่ต้นไม้ได้อีกทางหนึ่ง
ควรปลูกต้นทรงบาดาลเอาไว้ทางทิศตะวันตกของตัวบ้าน เพื่อช่วยขับไล่สิ่งชั่วร้าย และเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้กับผู้เป็นเจ้าของ ฟ

ดอกช้องนาง

ช้องนาง
ช้องนาง

ช้องนาง

Thunbergia erecta, T. Anders (Thunbergiaceae)
Bush Clockvine.
ช้องนาง เป็นไม้พุ่มเล็ก แตกกิ่งก้านมาก สูงประมาณ 6 ฟุต ใบคล้ายใบแก้ว ใบมนปลายแหลมยาวประมาณ 3 นิ้ว ออกเป็นคู่ ๆ ตามกิ่ง ดอกเป็นรูปแตร ปลายดอกผายออกเป็น 5 แฉก ในดอกตรงกลางมีตาสีเหลือง ดอกสีม่วง และยังมีชนิดดอกสีขาวเรียกว่าช้องนางขาว ดอกยาวประมาณ 2 นิ้ว
ช้องนางมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแอฟริกา ในเมืองไทยมีหลายชนิด เช่น T.affinis S. Moor เรียกว่า ช้องนาง T.erecta T. Anders เรียกช้องนางเล็ก และชนิด T.erecta var. caerulea Hort. เรียกช้องนางใหญ่
ช้องนาง เป็นไม้ที่ปลูกได้ทั้งกลางแจ้งและในที่ร่มรำไร ชอบดินร่วนซุยที่มีความชุ่มชื่นสม่ำเสมอ ชอบปุ๋ยใบไม้ผุยิ่งกว่าปุ๋ยคอก การขยายพันธุ์ใช้วิธีตอนหรือตัดกิ่งปักชำ
ช้องนางเป็นไม้ประดับที่ให้ดอกสีม่วงหรือสีขาวสวยงามตลอดทั้งปี แต่ดอกบอบบาง ถ้าเด็ดจากต้นจะเหี่ยวเฉาเร็ว ถ้าอยู่กับต้นจะบานได้นานราวสองวัน

ดอก ชวนชม

ดินปลูก

เดิมชวนชมเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบแอฟริกาซึ่งมีสภาพแห้งแล้ง เมื่อนำมาปลูกในสภาพแวดล้อมที่ดีกว่า ดินปลูกที่ดีขึ้น ชวนชมย่อมเจริญเติบโตได้ดีกว่าในดินทรายถิ่นกำเนิดเดิม แต่โครงสร้างของต้นชวนชมก็ยังเป็นไม้อวบน้ำอยู่เช่นเดิม ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม คือต้นยังอวบน้ำและทนน้ำขังไม่ได้ ดังนั้นดินที่เหมาะในการปลูกชวนชมจึงควรเป็นดินโปร่งร่วนซุย มีการระบายน้ำได้ดีคล้ายดินทราย ผู้ปลูกเลี้ยงส่วนใหญ่จึงนิยมเติมวัสดุปรุงดินต่างๆ เพิ่มลงไปในดินเพื่อให้มีความร่วนซุย เช่น ใบก้ามปู กาบมะพร้าวสับ เปลือกถั่วลิสง แกลบดิบ และทรายหยาบ สูตรดินผสมที่ใช้ปลูกชวนชมได้ดีมีหลายสูตร ดังตัวอย่างต่อไปนี้

สูตรที่ 1

ทราย

ใบไม้ผุหรือแกลบผุ

ปุ๋ยคอกเก่า

ขุยมะพร้าว

1

1

1

1

ส่วน

ส่วน

ส่วน

ส่วน

สูตรที่ 2

ทราย

ขี้เถ้าแกลบ

ปุ๋ยคอกเก่า

ใบก้ามปูผุ

1

1

1

2

ส่วน

ส่วน

ส่วน

ส่วน

สูตรที่ 3

ดิน

แกลบผุ

ปุ๋ยคอกเก่า

กาบมะพร้าวสับ

1

2

1

1

ส่วน

ส่วน

ส่วน

ส่วน

การให้น้ำ

ชวนชมเป็นพืชที่มีลำต้นอุ้มน้ำไว้ค่อนข้างมาก จึงทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี หากชวนชมอยู่ในสภาพที่แฉะเกินไปหรือมีน้ำขังจะทำให้มีอาการเหี่ยวเฉา ใบเหลืองและร่วง โขดหรือหัวเน่าได้ง่าย ชวนชมเป็นไม้ที่ทนต่อสภาพแห้งแล้งและฟื้นตัวได้ง่าย เช่น ถ้างดน้ำประมาณ 1 สัปดาห์ ลักษณะต้นจะนิ่ม เมื่อได้รับน้ำและปุ๋ยอีกครั้งชวนชมจะแตกใบขึ้นมาใหม่ แต่ถ้าขาดน้ำนานเกินไปใบจะเหี่ยวหรือไหม้ตามขอบใบ ดอกจะเหี่ยวและร่วงเร็ว ชวนชมต้นที่ยังอ่อนต้องให้น้ำแต่น้อย ถ้าต้นอ่อนได้น้ำมากจะทำให้เน่าได้ง่าย การให้น้ำพอดีจะทำให้ต้นเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ถ้าเป็นชวนชมต้นใหญ่ควรให้น้ำวันละครั้ง สำหรับช่วงฤดูฝนอาจเว้นการรดน้ำบ้างตามความเหมาะสม น้ำที่ใช้รดควรเป็นน้ำที่สะอาดและไม่ควรรดน้ำให้โดนดอกเพราะจะทำให้กลีบดอกช้ำและร่วงเร็ว

การให้ปุ๋ย

ชวนชมเป็นพืชที่ต้องการปุ๋ยไม่มากนัก การใส่ปุ๋ยมากเกินไปนอกจากจะสิ้นเปลืองแล้วยังทำให้ชวนชมเน่าได้ง่าย ชวนชมต้นเล็กต้องการธาตุอาหารไม่มาก ควรใส่ปุ๋ยที่มีตัวหน้าสูง เช่น 15-5-5 หรือสูตรเสมอ 15-15-15 ในปริมาณน้อยๆ ทุก 2 สัปดาห์ ประมาณ 1-2 เดือน เมื่อต้นโตเต็มที่พร้อมที่จะออกดอกจึงเปลี่ยนเป็นปุ๋ยเร่งดอกสูตร 8-24-24 ทุกๆ 2 สัปดาห์ ประมาณ 1-2 เดือนชวนชมจะออกดอก หลังจากนั้นบำรุงต้นโดยให้ปุ๋ยสูตรเสมอเดือนละครั้ง และให้ธาตุอาหารเสริมประมาณ 3 เดือนครั้ง สำหรับชวนชมที่ติดฝักควรเว้นระยะการให้ปุ๋ยให้ห่างขึ้นและลดปริมาณการให้ปุ๋ยให้น้อยลง

การตัดแต่งกิ่ง

ธรรมชาติของชวนชมจะมีลักษณะทรงต้นและการบิดตัวที่สวยงามอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีความจำเป็นที่ต้องมีการตัดแต่งบังคับรูปทรงให้เป็นไปตามต้องการ โดยเฉพาะชวนชมที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปหรือต้นที่โตแล้ว มีกิ่งก้านสาขาเก้งก้างไม่เป็นพุ่มสวยงาม การตัดกิ่งควรตัดกิ่งก้านที่แตกออกมาเกะกะไม่เป็นระเบียบ กิ่งที่พาดทับกันไปมา กิ่งที่ตาย กิ่งที่ฉีกหัก กิ่งที่คดไปมา และกิ่งที่เป็นโรคออกบ้าง เพื่อช่วยเปิดให้แสงและอากาศถ่ายเทได้สะดวก ลักษณะทรงพุ่มเป็นระเบียบสวยงาม สำหรับพันธุ์ที่ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน สูงชะลูด ลำต้นอาจหักเมื่อโดนลมแรง อาจตัดยอดไปขยายพันธุ์ เพื่อให้ส่วนโคนที่เหลือแตกกิ่งออกมาใหม่ การตัดควรใช้มีดที่คมและสะอาดตัดให้ชิดลำต้น ไม่ควรเหลือตอกิ่งไว้ ถ้ารอยตัดมีขนาดโตกว่า 1 ซม. ควรใช้ปูนแดงทาที่รอยตัดเพื่อป้องกันเชื้อรา

การเลี้ยงโขด

การปลูกเลี้ยงชวนชมในอดีตส่วนใหญ่ปลูกเลี้ยงเพื่อให้มีดอกไว้ชื่นชมเพียงอย่างเดียว เมื่อมีชวนชมพันธุ์ลูกผสมจากต่างประเทศ โดยเฉพาะสายพันธุ์ฮอลแลนด์ซึ่งมีโขดเป็นจุดเด่นและมีลักษณะสวยงาม จึงทำให้ผู้ปลูกเลี้ยงนิยมเลี้ยงชวนชมให้มีดอกดกสวยงามควบคู่ไปกับการเลี้ยงโขดให้มีโขดใหญ่สวยงาม โขดยิ่งมีขนาดใหญ่ได้สัดส่วนยิ่งจะโดดเด่นสวยงามและมีราคาแพง การทำให้ชวนชมมีโขดใหญ่จะต้องทำให้รากชวนชมสะสมอาหารไว้ให้มากที่สุด เพราะโขดของชวนชมคือส่วนหนึ่งของราก จึงต้องให้โขดเจริญเติบโตใต้ดินตั้งแต่แรกปลูก และเมื่อชวนชมอายุได้ขนาดจะต้องเปลี่ยนกระถางให้ใหญ่ขึ้นเป็นระยะทุก 4-5 เดือน เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้โขดได้เจริญเติบโต ถ้าปลูกเลี้ยงในพื้นที่จำกัดโขดจะมีขนาดเล็ก เมื่อโขดมีขนาดใหญ่และได้รูปร่างตามต้องการแล้วจึงเปลี่ยนเป็นกระถางสำหรับโชว์โขดโดยเฉพาะ ทั้งนี้รวมเวลาจนถึงโขดมีขนาดใหญ่ตามที่ต้องการอาจต้องใช้เวลานับปี สำหรับโขดที่ปลูกโชว์ควรปลูกให้สูงเหนือดินขึ้นมาประมาณ 3 ใน 4 ส่วนของโขด

การทำให้ออกดอกและติดฝัก

เนื่องจากชวนชมเป็นไม้ที่ชอบแสงแดดจึงควรปลูกกลางแจ้งจะทำให้ชวนชมออกดอกตลอดปี ที่สำคัญคือดินปลูกต้องมีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ จึงจะทำให้ชวนชมออกดอกดก ติดฝักดี เมื่อชวนชมถึงระยะที่แข็งแรงสมบูรณ์พร้อมที่จะออกดอก ให้ใช้ปุ๋ยเร่งดอกสูตร 0-25-25 พร้อมทั้งให้โฮโมนทางใบ หลังจากใส่ปุ๋ยประมาณ 1 เดือน ชวนชมจะออกดอก และระยะตั้งแต่ดอกตูมเล็กๆ จนถึงดอกบานใช้เวลาประมาณ 1 เดือน สำหรับในหน้าฝนชวนชมจะมีดอกน้อยและต้องระวังการเกิดโรคเน่า เพราะถ้าชวนชมได้รับน้ำมากจนแฉะจะทำให้เกิดโรคเน่าและตายได้

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ดอกจำปี


จำปี (White Champaka) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกยืนต้นขนาดกลาง ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก จุ๋มปี๋ หรือจุมปี เป็นต้น อยู่ในวงศ์เดียวกับจำปี ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยบ้างก็ว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ หรือประเทศมาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซีย โดยสามารถแบ่งสปีชีส์ออกได้ประมาณ 50 ชนิดเลยทีเดียว พร้อมสรรพคุณในต้นจำปีอีกมากมายที่ให้คุณประโยชน์และรักษาโรค อาการต่างๆ รวมถึงการนำมาใช้เพื่อทำสิ่งของต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ได้อีกมากมายเลยทีเดียว
จำปี

สำหรับต้นจำปีนั้นเป็นไม้ไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีลำต้นสูงกว่าจำปาเล็กน้อย ที่มีความสูงประมาณ 10 – 20 เมตร ซึ่งลำต้นสีน้ำตาลนี้จะแตกออกเป็นร่องถี่ๆ บริเวณกิ่งมีขนสีเทาขึ้นปกคลุมอยู่ มักเปราะและหักได้ง่าย ต้นจำปานี้นิยมขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง และเพาะเมล็ด เป็นใบเดี่ยวสีเขียว โคนมน ปลายแหลม ขอบใบเรียบหนาและใหญ่ ดอกเป็นดอกเดี่ยวที่มาพร้อมกลิ่นหอม มีสีขาวคล้ายกับงาช้าง ส่วนผลเป็นกลุ่มซึ่งเมื่อผลแก่จะแห้งแตก ลักษณะคล้ายรูปทรงไข่หรือกลม ผลแก่มีสีแดงด้านในมีเมล็ดเล็กๆ สีดำอยู่ประมาณ 1 – 4 เมล็ด
ประโยชน์และสรรพคุณของจำปี
ใบ – ช่วยแก้อาการต่อมลูกหมากอักเสบ รวมทั้งช่วยในการขับระดู และช่วยแก้อาการหลอดลมอักเสบแบบเรื้อรัง ให้รสเฝื่อน
ดอก – ช่วยในการบำรุงโลหิต บำรุงน้ำดี ตลอดจนบำรุงหัวใจ ให้รสขมหอมนอกจากนี้ยังนิยมนำดอกจำปีมาทำเป็นไม้ดอกไม้ประดับซึ่งสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปีเลยทีเดียว รวมทั้งสามารถนำมาทำเป็นอุบะในพวงมาลัย หรือนำไปเป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางบางชนิด ตลอดจนนำดอกจำปีไปไหว้บูชาพระ และยังสามารถนำไปอบกับเสื้อผ้าเพื่อขจัดกลิ่นอับ อีกทั้งยังสามารถนำมาทำเป็นเครื่องเรือนได้อีกด้วย เรียกได้ว่าจำปีสารพัดประโยชน์จริงๆ

ดอกจำปาเทศ

(Champa Thet bai Lack)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterospermum diversifolium Bl.
ชื่อวงศ์ STERCULIACEAE
ชื่ออื่น กะหนาย ขนาน จำปาเทศ ลำป้าง
ถิ่นกำเนิด มาลายูและภาคใต้ของประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-20 ม. ขนาดทรงพุ่ม 7-10ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มรูปเจดีย์หรือรูปกรวยกว้าง เปลือกต้นสีน้ำตาล ต้นมีอายุมากแตกหลุดล่อนเป็นสะเก็ด
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 5-6.5 ซม. ยาว 7.5-15 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลมสั้นๆ โคนใบรูปหัวใจเบี้ยว ขอบใบเว้าหรือเป็นติ่งไม่สม่ำเสมอ แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียว ย่นเป็นลอน สีเขียวสด ผิวใบด้านล่างมีนวลสีขาว เส้นแขนงใบนูนเด่น มีขนสีน้ำตาลปกคลุม ก้านใบยาว 0.8-1.2 ซม.
ดอก สีเหลืองนวลหรือขาว มีกลิ่นหอม ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ก้านดอกยาว 1-1.5 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบรูปขอบขนานแคบ ด้านในมีขนกำมะหยี่ ด้านนอกมีขนสีน้ำตาล กลีบดอก 5 กลีบ รูปช้อน ปลายกลีบกว้าง เกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์ 15 อัน ติดกันเป็น 5 มัด มัดละ 3 อัน เป็นหมัน 5 อัน เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 5-7 ซม.
ผล ผลแห้งแตกตามรอยประสาน ทรงกลมถึงรูปขอบขนาน กว้าง 8-12 ซม. ยาว 10-17 ซม.มีสันเป็นคลื่น 5 สันมีขนละเอียดสีน้ำตาล ปกคลุม เมื่อสุกสีน้ำตาลเข้ม เมล็ดทรงแบนมีปีก สีน้ำตาลอมเหลือง จำนวนมาก ติดดอกออกผลตลอดปี ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และทาบกิ่ง
นิเวศวิทยา พบตามป่าดิบทางภาคตะวันออก และภาคใต้
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร ราก แก้กระบังลมเคลื่อน (มดลูกเคลื่อน) เปลือก ราก เป็นยาเบื่อปลา
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

ดอกเกด

เกดManilkara hexadra  Dub.
 

ชื่อพื้นเมือง
ชื่อบาลี
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อพ้อง
ชื่อสามัญ
ชื่อวงศ์
ถิ่นกำเนิด
สภาพนิเวศน์

การขยายพันธุ์
ประโยชน์
 
เกด
ราชายตน (รา-ชา-ยะ-ตะ-นะ),ชีริกา (ชี-ริ-กา),ราชายตนํ (รา-ชา-ยะ-ตะ-นัง)
Manikara hexandra  Dub.
Mimusops hexandra  Roxb.
Milkey Tree
Sapotaceae
อินเดีย พม่า ไทย
ชอบขึ้นในที่แห้งแล้ง เป็นดินทรายหรือดินปนหิน ไม่ชื้นแฉะ สภาพป่าที่ค่อนข้างแห้งแล้งในเอเชีย
พบตามหินปูน ตามเกาะที่มีเขาหินปูน ในประเทศไทยพบมากตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป
เพาะเมล็ด
ผล รับประทาน ทำให้ชุ่มคอ ลดอาการกระหายน้ำ ผลสุกเป็นผลไม้ เนื้อไม้ ต่อเรือและทำลูกสลัก
ใช้ในกาต่อเรือ
 

          เกด  ฮินดูเรียก "ครินี" หรือ "ไรนี" ตามพุทธประวัติ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ใต้ต้นจิก 7 วัน แล้วได้เสด็จไปทรงประทับต่อใต้ต้นเกดอีก 7 วัน
          เกด เป็นพืชสกุลเดียวกับละมุดฝรั่ง ละมุดสีดา คืออยู่ในสกุล " Manikara " วงศ์ " Sapotaceae "
          ลักษณะ  ไม้ต้นขนาดใหญ่  มีน้ำยางขาว ลำต้น เปลาค่อนข้างตรง  เปลือกแตกร่อนเป็นสะเก็ดสีดำ เนื้อไม้สีน้ำตาลแดง เหนียว แข็งมาก  กิ่งมักคดงอเป็นข้อศอก  ไม่ผลัดใบ ถ้าต้นยังเล็กอยู่ ปลายกิ่งและกิ่งจะมีลักษณะคล้ายหนามขนาดใหญ่และมีใบออกที่ปลายกิ่ง ใบ เดี่ยว ออกเวียนสลับ รูปไข่กลับ ใบจะเรียวสอบมาทางโคนใบ ผิวใบด้านบนเป็นมัน ผิวใบด้านล่างมีคราบขาว เส้นใบจะนานกันและค่อนข้างถี่ เนื้อใบหนา ดอก ช่อ ออกเป็นกระจุก 3-5 ดอก ตามใบ ดอกสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม  ผล กลมรี โดยประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร สุกสีเหลืองแสด ผลรับประทานได้ รสหวาน
 

ดอกกาหลง

ลักษณะของกาหลง

  • ต้นกาหลง เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในป่าเมืองร้อนของหลายประเทศตั้งแต่ไทย ลาว พม่า กัมพูชา มาเลเซีย อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ โดยจัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม ส่วนกิ่งแก่ผิวค่อนข้างเกลี้ยงและไม่ค่อยมีขน ต้นกาหลงเป็นพันธุ์ไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตปานกลาง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี ขอบความชื้นปานกลางและชอบแสงแดดแบบเต็มวัน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนและการเพาะเมล็ด หากปลูกจาเมล็ดจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2-4 ปี จึงจะออกดอกและติดฝัก
ต้นกาหลง
รูปกาหลง
  • ใบกาหลง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีกว้าง ปลายใบเว้าลึกเข้ามาเกือบครึ่งใบ ทำให้ปลายแฉกสองข้างแหลม แยกเป็น 2 พู โคนใบมนเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 9-13 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวอ่อน มีเส้นใบออกจากโคนใบประมาณ 9-10 เส้น ปลายเส้นกลางใบมีติ่งเล็กแหลม เส้นใบสีเขียวสด หลังใบเรียบเกลี้ยง ส่วนท้องใบมีขนละเอียดสีขาว ก้านใบยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ส่วนหูใบลักษณะเรียวแหลมยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ร่วงได้ง่าย และมีแท่งรยางค์เล็ก ๆ อยู่ระหว่างหูใบ โดยปกติแล้วต้นกาหลงจะผลัดใบในช่วงฤดูหนาว และเริ่มแตกใบอ่อนในช่วงฤดูร้อน
  • ดอกกาหลง ออกดอกเป็นช่อกระจะแบบสั้น ๆ โดยจะออกบริเวณปลายกิ่งประมาณช่อละ 2-3 ดอก ก้านดอกยาวประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นสีขาว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ โคนก้านดอกมีใบประดับขนาดเล็กประมาณ 2-3 ใบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมเรียวแหลม ส่วนดอกมีลักษณะตูมเป็นรูปกระสวย ยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-8 เซนติเมตร ดอกมีกลีบดอกสีขาว 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน มีลักษณะเป็นรูปวงรีหรือรูปไข่กลับ ปลายกลีบมน โคนสอบ กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียวมีกลีบ 5 กลีบ ติดกันคล้ายกาบกว้างประมาณ 1-1.8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ปลายกลีบมีลักษณะเรียวแหลมและแยกเป็นพูเส้นสั้น ๆ 5 เส้น ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านชูอับเรณูแต่ละก้านจะยาวไม่เท่ากัน มีขนาดตั้งแต่ 1.5-2.5 เซนติเมตร อับเรณูเป็นสีเหลืองสด ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 3-5 มิลลิเมตร และมีเกสรเพศเมียอยู่ระหว่างกลางอีก 1 อัน มีขนาดใหญ่และยาวกว่าเกสรเพศผู้ ก้านชูเกสรเพศเมียจะยาวประมาณ 1 เซนติเมตร รังไข่รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยอดเกสรเพศเมียมีลักษณะเป็นแผ่นกลม สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
ดอกกาหลง
  • ผลกาหลง ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน มีความกว้างของฝักประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 9-15 เซนติเมตร ขอบฝักเป็นสันหนา ส่วนปลายฝักและโคนฝักสอบแหลม ปลายฝักมีติ่งแหลม ยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร ขอบของฝักเป็นสันหนา ฝักอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และในแต่ละฝักจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 5-10 เมล็ด เมล็ดมีขนาดเล็กและมีลักษณะแบนหรือเป็นรูปขอบขนาน โดยฝักจะแก่ในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม[1],[2],[3],[4],[6]
ผลกาหลง
ฝักกาหลง

สรรพคุณของกาหลง

  1. ดอกมีรสสุขุม มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต (ดอก)ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ดอก, ราก)
  2. ใบใช้รักษาแผลในจมูก 
  3. ดอกมีสรรพคุณช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน (ดอก)บ้างก็ว่าในส่วนของต้นก็มีสรรพคุณแก้ลักปิดลักเปิดเช่นกัน (ต้น)
  4. ต้นและราก มีสรรพคุณเป็นยาแก้เสมหะ (ต้น,ราก)
  5. ดอกช่วยแก้เสมหะพิการ (ดอก)
  6. ช่วยแก้อาการอาเจียนเป็นเลือด (ดอก)
  7. รากใช้ต้มเป็นยาดื่มช่วยแก้อาการไอ (ราก)
  8. รากใช้เป็นยาแก้บิด (ราก)
  9. ต้นกาหลง สรรพคุณเป็นยาแก้โรคสตรี (ต้น)

ประโยชน์ของกาหลง

  1. ดอกสามารถใช้รับประทานได้ และชาวเขาจะนิยมใช้ยอดอ่อนมารับประทาน
  2. ต้นกาหลงนิยมนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้งในบริเวณอาคารบ้านเรือน และใช้ปลูกตามที่สาธารณะ อาจจะเป็นเป็นต้นแบบเดี่ยว ๆ หรือใช้ปลูกเป็นกลุ่ม ๆ มีดอกสีขาวสวยงามและมีกลิ่นหอม สามารถออกดอกได้ตลอดปี อีกทั้งรูปร่างของใบและทรงพุ่มก็งดงาม สามารถจัดแต่งทรงพุ่มได้ง่าย ปลูกเลี้ยงได้สบาย ไม่ต้องการปุ๋ยมาก และขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด เพราะสามารถจับปุ๋ยจากอากาศได้เอง แต่ควรปลูกไม้พุ่มเตี้ยด้านหน้าเพื่อใช้บังโคนต้นที่เปิดโล่งอยู่ของต้นกาหลง
  3. ชาวจีนมักปลูกต้นกาหลงไว้เป็นไม้ประจำบ้าน ด้วยเชื่อว่าต้นกาหลงเป็นไม้ที่ให้คุณแก่เจ้าของบ้าน

ข้อควรระวังในการใช้

  • บริเวณใบและกิ่งของต้นกาหลง จะมีขนอ่อน ๆ ขึ้นอยู่ประปราย หากสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง จะทำให้ระคายเคืองผิวหนังได้ (นิตยาสารธรรมลีลา ฉบับที่ 151)